โรคและภัยสุขภาพที่ต้องระวังในช่วงฤดูฝน

     กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนในช่วงเข้าสู่ฤดูฝนมักพบโรคแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 9 โรค และ 4 ภัยสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ ควรต้องดูแลสุขภาพอนามัยมากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ

กลุ่มที่ 1 โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ 1) โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ 2) โรคปอดอักเสบ เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถติดต่อทางการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายหรือไอ จาม วิธีการป้องกัน คือ รักษาสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำร่างกายให้อบอุ่น หมั่นล้างมือ และไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น

กลุ่มที่ 2 เป็นโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่ 1) โรคอุจจาระร่วง เกิดจากการรับประทาน อาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค 2) โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มี การปนเปื้อนของสารเคมี หรือโลหะหนัก 3) โรคอหิวาตกโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำดื่ม หรือจากแมลงวันที่เป็นพาหะนำโรค วิธีการป้องกัน คือ ล้างมือ ให้สะอาดทั้งก่อนและหลังการ ประกอบอาหาร รับประทานอาหาร หรือหลังจากการเข้าห้องน้ำทุกครั้ง ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่ สะอาดและปรุงสุกใหม่

กลุ่มที่ 3 โรคติดต่อนำโดยยุงลาย ได้แก่ 1) โรคไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค 2) โรคไข้ ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา มียุงลายสวน และยุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรค วิธีการป้องกัน คือ ต้องกำจัด แหล่งเพาะพันธุ์ยุงและป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด

กลุ่มที่ 4 โรคติดต่อที่สำคัญอื่น ๆ ในช่วงฤดูฝน ได้แก่ 1) โรคเลปโตสไปโรซิสหรือโรคฉี่หนู พบบ่อย ในผู้มีอาชีพเกษตรกรรมที่ต้องสัมผัสกับดินหรือน้ำอยู่เป็นประจำ 2) โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคติดต่อที่พบ ได้บ่อยในเด็กเล็ก จากการสัมผัสโดยตรงกับน้ำมูก น้ำลาย ผื่น ตุ่มน้ำใส หรืออุจจาระของผู้ป่วย

กลุ่มที่ 5 ภัยสุขภาพ ได้แก่ 1) การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจมน้ำ ผู้ปกครองควรดูแลเด็ก อย่างใกล้ชิด ให้ความรู้แก่เด็กในการเอาตัวรอด ทำเครื่องป้องกัน ทำรั้วล้อมรอบแหล่งน้ำ 2) การบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการถูกฟ้าผ่า ให้หลบในที่ปลอดภัย เช่น อาคารขนาดใหญ่ ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือกลางแจ้ง ในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง 3) อันตรายจากการถูกสัตว์มีพิษกัด ควรจัดบ้านให้สะอาด ไม่ให้เป็นที่ หลบซ่อนของสัตว์มีพิษ และ 4) อันตรายจากการกินเห็ดพิษ หากไม่มั่นใจว่าเป็นเห็ดพิษหรือเห็ดที่ รับประทานได้ ไม่ควรนำมารับประทาน ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422