Thai Chinese (Simplified) English Indonesian Japanese Korean Malay Vietnamese

กระทรวงยุติธรรม เสริมสร้างการรับรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันแก่ประชาชน ตอน การนำกรวย แผงเหล็ก เก้าอี้ หรือสิ่งใดไปตั้งขวางพื้นที่ไว้ไม่ให้ใครมาจอด มีความผิดตามกฎหมาย

กระทรวงยุติธรรม ได้สรุปสาระสำคัญข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันแก่ประชาชน ตอน การนำกรวย แผงเหล็ก เก้าอี้ หรือสิ่งใดไปตั้งขวางพื้นที่ไว้ไม่ให้ใครมาจอด มีความผิดตามกฎหมาย ดังนี้

หากเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลสามารถทำได้ หากเป็นที่สาธารณะ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 114 ซึ่งบัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดวาง ตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร แต่หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรจะอนุญาตได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุอันจำเป็นและเป็นการชั่วคราวเท่านั้น ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง นอกจากจะมีความผิดตามมาตรา 148 แล้ว หัวหน้า เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางดังกล่าวได้ ถ้าไม่ยอมรื้อถอนหรือ เคลื่อนย้าย ให้หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรมีอ านาจรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายได้” ซึ่งมาตรา 148 เป็นบทกำหนดโทษ โดยโทษของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 114 วรรคหนึ่ง คือต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท นอกจากนั้นยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385 ที่กำหนดว่า “ผู้ใด ไม่ได้รับอนุญาต อันชอบด้วยกฎหมายกีดขวางทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกใน การจราจร โดยวาง หรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำด้วยประการอื่นใดถ้าการกระทำนั้นเป็นการกระทำ โดยไม่จำเป็นต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50000 บาท”

ส่วนการติดป้ายห้ามจอด ถือเป็นการทำสัญญาณหรือเครื่องหมายจราจร ถ้ามิได้เป็นเจ้าพนักงาน อาจจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 28 ที่กำหนดว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจาก เจ้าพนักงานจราจรหรือเจ้าพนักงาน ทำ ติดตั้ง หรือทำให้ปรากฏซึ่งสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรในทางที่ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดตามมาตรา 21” ซึ่งจะมีผลให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจยึด รื้อถอน ทำลาย หรือทำให้สิ้นไปซึ่งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร นั้นได้ ตามมาตรา 30 กำหนดให้ สัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ทำ ติดตั้ง หรือทำให้ปรากฏในทาง โดยฝ่าฝืนมาตรา 28 ดังกล่าว หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจยึด รื้อถอน ทำลาย หรือทำให้สิ้นไปซึ่ง สัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรนั้นได้ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 28 มาตรา 30 มาตรา 114 และมาตรา 148 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385

ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับคำปรึกษาด้านกฎหมาย บริการด้านงานยุติธรรมต่าง ๆ หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

  1. สายด่วนยุติธรรม 1111 กด 77 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
  2. จดหมาย : ตู้ไปรษณีย์ 3 หลักสี่ กทม. 10210
  3. เว็บไซต์ : https://www.moj.go.th/ และระบบให้บริการประชาชน http://mind.moj.go.th
  4. อีเมลล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  5. แอปพลิเคชันไลน์ Lind id : Svl007
  6. เฟสบุ๊ค : ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม และกระทรวงยุติธรรม Ministry Of Justice0 Thailand
  7. แอปพลิเคชัน Justice Care : บริการรับเรื่องยุติธรรมสร้างสุข
  8. สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ
  9. กองทุนยุติธรรม โทร 063-2697056 หรือ Facebook: กองทุนยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม