Thai Chinese (Simplified) English Indonesian Japanese Korean Malay Vietnamese

ผลิตภัณฑ์ตำบลต้นธงชัย

 

   
  กลุ่มต้นธงชัยแฮนด์เมด ประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชน ประเภทงานผ้าดันมือได้รับคัดเลือกเป็นกลุ่มอาชีพแบบ "กลุ่มสตรีบ้านต้นธงชัย" ก่อนที่ต่อมาจะเปลี่ยนชื่อเป็นกลุ่มต้นธงชัยแฮนด์เมด ได้แก่ กระเป๋าเป้ กระเป๋าสตางค์ พวงกุญแจ ซองใส่โทรศัพท์ และได้รับตรามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และตรา OTOP  และกำลังพัฒนายกระดับสินค้าผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้ติดดาวของ OTOP ต่อไป ....กลุ่มต้นธงชัยแฮนด์เมด
   
 
   

กลุ่มโคมบ้านวังหม้อ ประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชน ประเภทงานหัตกรรมพื้นบ้านทางศิลปกรรมและวัฒนธรรม ลวดลายเชิงช่างลำปาง โดย นายสีมูล จินดาสี ได้นำมาจากพม่า เพื่อนำมาค้าขายกับเมืองเขลางค์ ที่มีความเลือมใส ต่อมามีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงนำโคมจากพม่าจำนวน 2 รูป ถวาย ณ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ขณะนั้นมีพระครูศรี ขันวงเป็นเจ้าอาวาสได้รับไว้ ประกอบกับพระครูศรี ขันวงมีใจรักด้านสถาปัตยกรรมล้านาอยู่แล้วจึงได้ศึกษารูปแบบลวดลายและโครงสร้างของโคมและนำเอาศิลปะล้านนามาผสมผสานใช้ระยะเวลา 2 ปี จึงสำเร็จเป็นโคมลูกแรก และส่งต่อมาให้ลูกศิษย์ 3 คน ได้แก่ พ่อครูทิพย์มา สิทธิชุุม พอครูหนานเส้า สุรินทร์ และพ่อครูสลาสุข ปินตาสี ปัจจุบันพ่อครูมณฑล ปีนตาสี เป็นผู้ถ่ายทอด และสืบทอดต่อ ถือได้ว่าเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่มโคมล้านนาบ้านวังหมือ คือ โคมล้านนา และตุงล้านนา... กลุ่มโคมบ้านวังหม้อ

   
 
   

กลุ่มน้ำพริกแม่ญิง กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรพื้นบ้านในชุมชน ประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชนประเภทอาหารพื้นบ้านล้านนาภาคเหนือ เป็นการรวมกลุ่มสตรีที่สืบทอด วิธีการทำน้ำพริก ซึ่งทำมาจากพืชสมุนไพรธรรมชาติโดยมีสูตรและวิธิการทำเฉพาะตัวเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณเพื่อผลิตเป็นสินค้าสร้างความเจริญแก่ชุมชนให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น  โดยการผลิตและจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพภายใต้แบรนต์ "แม่ญิงน้ำพริก" ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำพริกลาบ น้ำพริกข่าและน้ำพริกหนุ่ม... กลุ่มแม่ญิงน้ำพริก

   
 
   

กลุ่มสบู่ไพรหอม เป็นกลุ่มประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชน ประเภทงานกลุ่มสมุนไพรพื้นบ้าน ในพื้นที่ชุมชนบ้านแม่ทรายคำ ที่เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมสำหรับการการปลูกพืชสมุนไพรประจำถิ่น ได้แก่ ตระไคร้ ขมิ้น และถ่านไผ่ วัตถุดิบสามารถนำมาผสมผสานให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่สร้างมูลค่ากับชุมชน โดยว่าที่ร้อยตรีมาลี อินต๊ะสงค์ ผู้นำรวมกลุ่มได้รวมกันเลือกวัตถุดิบในชุมชน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติไม่มีสารอันตรายต่อผิว มีความปลอดภัย และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจดแจ้งอย่างถูกต้อง... กลุ่มไพรหอม

   
 
   
กลุ่มมาร์แมส (Marmass) ผลิตภัณฑ์ใหม่แปรรูปจากผ้าขาวม้า โดยมีว่าที่ร้อยตรีหญิงมาลี อินต๊ะสงค์ เป็นผู้นำกลุ่ม ซึ่งรวมกลุ่มสมาชิกที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถและเทคนิคในการตัดเย็บ จึงรวมกลุ่มสร้างแบรนด์ มาร์แมส ขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าที่ผลิตภายในชุมชนตำบลต้นธงชัย เช่น ผ้าขาวม้า ผ้าซิ่นตีนจก นำมาแปรรูปเป็นเสื้อ หมวก กระเป๋าสตางค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าขาวม้า บ้านวังหม้อเจดีย์ซาว และเป็นสินค้าที่สร้างมูลค่าให้กับชุมชน... กลุ่มมาร์แมส
   
 
   
กลุ่มฝ้ายนวน ผ้าทอ ผ้าขาวม้ากี่กระตุกและผ้าซิ่นตีนจก บ้านวังหม้อเจดีย์ซาวประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชน ประเภทงานหัตถกรรมพื้นบ้านทางศิลปกรรมและวัฒนธรรม เป็นการรวมกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ได้สืบทอดการผลิตผ้าฝ้ายทอมือทำจากเส้นใยฝ้ายธรรมชาติด้วยเครื่องกี่กระตุก เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เพื่อผลิตสินค้าผ้าฝ้ายทอมือออกจำหน่ายในช่วงงานประเพณีต่าง ๆ สินค้าและผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่มผ้าทอ ผ้าขาวม้ากี่กระตุก บ้านวังหม้อเจดีย์ซาว ได้แก่ ผ้าซิ่นลายเวียงละคร ผ้าขาวม้า ผ้าพื้นสำหรับตัดเย็บเสื้อผ้า เสื้อพื้นเมือง ผ้าพันคอ... กลุ่มฝ้ายนวน
   
   
  แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ทางเลือกอาหารโปรตีน การเลี้ยงจิ้งหรีดสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นได้ โดยศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดชุมชนบ้านศรีดอนชัย หมู่ 5 ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง..อ่านเพิ่มเติม  
 
 
   
  สวนหอมจันทร์  ปัจจุบันการทำเกษตรมีหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในการทำเกษตรที่ยั่งยืนและได้ผลดี สามารถใช้ได้กับทุกพื้นที่คือการทำ เกษตรผสมผสาน ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ มีการแบ่งพื้นที่เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเริ่มจากจัดการดินและน้ำให้เพียงพอ ปลูกพืช ไม้ยืนต้น เลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างระบบนิเวศที่ดี ปลูกป่าไว้ใช้เป็นพลังงาน อนุรักษ์พันธุกรรมพืชเพื่อสร้างความหลากหลาย ทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ มีกิน มีอยู่ มีใช้ในพื้นที่ของตัวเอง ชาวชุมชนบ้านศรีดอนชัย ม.5 ตำบลต้นธงชัย ได้บริหารพื้นที่เพื่อสร้างผลผลิตที่ดี และขยับขยายไปสู่การทำธุรกิจเกษตรอย่างยั่งยืน โดยรวมกลุ่มร่วมเครือข่ายเกษตรกรที่ดำเนินแนวทางเดียวกัน เปิดเป็น "ศูนย์แบ่งปันระดับอำเภอ ศูนย์ปลูกพืช ปลูกผักแบ่งปันกันทั้งตำบล" เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เทคโนโลยี เครื่องมือเกษตรต่าง ๆ เป็นต้น...  

 รายชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น